ครีมกันแดดยังจำเป็นอยู่หรือไม่

 

ครีมกันแดด ยังสำคัญต่อเราอยู่หรือไม่?

 

ครีมกันแดดเป็นไอเท็มหนึ่งที่ลืมไม่ได้เลยโดยเฉพาะกับแสงแดดในประเทศไทยที่ร้อนจัดและแรงมาก บอกเลยว่าสาว หนุ่ม คนไหนไม่พกครีมกันแดดติดตัวแล้วล่ะ

ก็ อาจจะทำให้หน้าเราหมองค้ำได้ตลอดทั้งวัน และเป็นบ่อเกิดจุดด่างดำต่าง

ครีมกันแดดที่รู้จักกันอย่างทั่วหลายนั้น ที่เราหาซื้อกันได้ง่ายๆ มีหลายอย่างหลายยี่ห้อ  เคยสงสัยกันมั้ยว่าครีมกันแดดที่เราใช้กันนั้น มีส่วนผสมอะไรเข้าไปบ้าง

 

 

 

 

ครีมกันแดดคืออะไร?

   ครีมกันแดด คือ ผลิตภัณฑ์ทาผิวที่ช่วยป้องกันเราจากรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวี (Ultraviolet) ที่มาจากแสงแดดซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังและสร้างเม็ดสีเมลานินทำให้ผิวคล้ำได้ เพราะในสารในครีมกันแดดจะช่วยปกป้องรังสีต่าง จากแสงแดดด้วยวิธีต่าง เช่น ดูดซับรังสีไวโอเลต ปกป้องผิวหนังชั้นลึก หรือสะท้อนแสงยูวีกลับไป เป็นต้น

ดังนั้นการทาครีมกันแดดจึงเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ต่อให้เราอยู่ในที่ร่ม เราก็สามารถรับรังสียูวีได้อย่างง่ายดาย ซึ่งผลิตภัณฑ์ ครีมกันแดด มีหลายรูปแบบที่นิยมใช้กันให้เราเลือกซื้อ เช่น ครีม โลชั่น หรือสเปรย์ เป็นต้น

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับสารตัวหลักในครีมกันแดดกันก่อน ถ้าทุกคนเคยไปซื้อครีมกันแดดตามท้องตลาด ทุกคนน่าจะเคยเห็นคำว่า ค่า SPF และ PA อย่างแน่นอน แล้วรู้หรือไม่ว่ามันคืออะไร สำคัญอย่างไร 

 

ค่า SPF และ PA คืออะไร?

ก่อนอื่นเราจะพาไปรู้จักกับส่วนประกอบที่สำคัญ ที่ถูกผสมอยู่ในครีมกันแดด และเป็นสารที่เราต้องพิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับผิวของเรามากที่สุด

 

SPF ย่อมาจาก Sun Protection Factor

          คือค่าประสิทธิภาพของครีมกันแดดในการป้องกันรังสียูวีบี (UVB) ว่าครีมกันแดดเราสามารถปกป้องเราได้นานเท่าไร ซึ่งสามารถคำนวณได้ดังนี้

ปกติผิวหนังเราจะสามารถทนแดดได้เฉลี่ย 15 นาที ถ้าเกินไปกว่านี้ผิวหนังเราจะแดงหรือผิวไหม้ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยความแรงของแสงแดดด้วย แล้วถ้าเราทา

กันแดดที่มีค่า SPF30 นั้นหมายถึง ผิวเราสามารถทนแดดได้เป็นเวลา 15×30=450 นาที หรือประมาณ 7 ชั่วโมงกว่า โดยเฉลี่ย ขึ้นอยู่กับการเสียดสี โดนน้ำและเหงื่อ

ที่อาจจะทำให้ค่าความสามารถในการป้องกันแสงต่ำกว่าค่าที่ได้จากการคำนวณไว้

ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า ค่า SPF เป็นตัวบ่งบอกระยะเวลานานเท่าใดในการเผาผิวไหม้หนังเมื่อสัมผัสกับแสงแดด ยิ่งค่า SPF มาก ระยะของผิวหนังที่สามารถทนแสงแดด

จะมีค่ามากเท่านั้น แล้วราคาก็จะแพงตามค่า SPF ที่สูงขึ้นด้วย

ในปัจจุบันค่า SPF มากสุดอยู่ที่ 50 เท่านั้น อย่างไรก็ตามจึงแนะนำให้ทาครีมกันแดดซ้ำ 2-4 ชั่วโมง เพื่อให้ประสิทธิภาพการปกป้องผิวยังคงเดิม

 

ค่า PA ย่อมาจาก Protection Grade of UVA

         คือค่าประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA ซึ่งในปัจจุบันค่า PA มีสูงสุดอยู่ที่ ++++ เท่านั้น ถ้าเราทำกิจกรรมทั่วไปใช้เพียง + ก็พอ

 แต่ถ้าใครออกแดดเป็นประจำให้ใช้ ค่า PA ++ จนถึง ++++ ตามลำดับ ยิ่งมีค่า + มาก ประสิทธิภาพในการปกป้อง UVA มีมากยิ่งขึ้น

 

 

วิธีการเลือกใช้ครีมกันแดดอย่างถูกต้อง

1. ต้องมีทั้ง SPF และ PA ที่เหมาะสมกับตัวเอง

   เราต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับตัวเองในการทำกิจกรรมในแต่ละวัน ถ้าค่า SPF มาก ก็ไม่ใช่ว่าดี เพราะอาจจะทำให้ก่อการระคายเคืองต่อผิวหนังสำหรับคนที่มีผิวแพ้ง่ายได้ง่าย ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้เคยบอกไว้ว่าความสามารถของครีมกันแดด SPF 50 กับ SPF 100 สามารถปกป้อง UVB ไม่แตกต่างกันเลย เพราะสุดท้ายเราก็ต้องมาทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2-4 ชั่วโมงอยู่ดี

ดังนั้นแนะนำว่าสำหรับคนผิวแพ้ง่ายให้ใช้ “ครีมกันแดด” SPF 50 ก็เพียงพอแล้ว

2. ควรเลือกครีมกันแดดให้เหมาะกับสภาพผิว

ทุกวันนี้มีครีมกันแดดทาหน้าหลายชนิดที่เราเห็นได้ตามทั่วไป แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถใช้ได้หมด เราควรเลือกใช้ครีมกันแดดให้เหมาะสมกับสภาพผิวของเราด้วย เช่น คนที่มีผิวค่อนข้างมัน หรือเป็นสิว ควรเลือกใช้ครีมกันแดดที่เป็นเนื้อโลชั่นหรือเจลจะเหมาะสมกว่า เพราะจะไม่เหนียวเหนอะหนะจนเกินไป หรือ คนที่มีผิวแห้ง ควรเลือกใช้ครีมกันแดดแบบชนิดเนื้อครีม เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว เป็นต้น และที่สำคัญไม่ควรใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของแอกอฮอล์ เพราะอาจจะทำให้ผิวของเราเกิดอาการแพ้ได้ง่าย

3. ควรเลือกใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนช่วยในการป้องกันรังสี NIR

ทุกคนคงจะเคยได้ยินว่ารังสีหลัก ในแสงแดด จะประกอบไปด้วย UVA และ UVB แต่หารู้ไม่ว่ามีรังสีอีกตัวหนึ่งในแสงแดดที่อันตรายยิ่งกว่ารังสี UV นั่นก็คือ NIR หรือชื่อเต็มคือ รังสีอินฟราเรด บอกเลยรังสีนี้ส่งผลเสียอะไรต่อผิวของเราได้มาก ไม่ว่าจะเป็น ผิวหมองค้ำ ปัญหาริ้วรอย เหี่ยวย่นแก่ก่อนวัย หรือผิวอาจจะสูญเสียความยืดหยุ่นได้โดยง่าย แล้วที่สำคัญรังสีนี้ไปกระตุ้นเซลล์มะเร็งผิวหนังได้ดีอีกด้วย อย่างไรก็ตามเราไม่ควรมองข้ามการป้องกันรังสี NIR โดยเด็ดขาด

 

 

 

 

Visitors: 24,911